วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Creative Common-CC (สรุป 23/06/54)



Creative  Commons-CC



              Creative  Commons-CC  หรือสัญญาอนุญาติใช้งานสร้างสรรค์เสรี  คือองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร  จัดตั้งขึ้นเพื่อขยายขอบข่ายของการใช้สื่อต่างๆ ให้กว้างขึ้นโดยไม่จำกัดที่สัญญาอนุญาตของสื่อนั้น  วัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์จะเอื้อให้มีการใช้สื่อทั้งภาพ  เสียง  ข้อมูล  โดยการแบ่งแยกสัญญาอนุญาตย่อยออกสำหรับการแจกจ่ายและการใช้ข้อมูลโดยการอ้างอิงถึงเจ้าของลิขสิทธิ์เดิม 
              ครีเอทีฟคอมมอนส์ช่วยให้เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถให้สิทธิบางส่วนหรือทั้งหมดแก่สาธารณะ  ในขณะที่ยังคงสงวนสิทธิ์อื่นๆไว้ได้  โดยการใช้สัญญาอนุญาตหลายรูปแบบ  ซึ่งรวมถึง  การยกให้เป็นสาธารณะสมบัติหรือสัญญาอนุญาตแบบเปิด  โดยมีจุดประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาลิขสิทธิ์ต่อการแบ่งปันสารสนเทศ



                เงื่อนไขหลักในการใช้
  1. Attribution (BY)  ยอมรับสิทธิ์ผู้สร้าง 
  2. Share Alike  (SA)  ใช้สัญญาแบบอนุญาตแบบเดียวกัน
  3. No Derivatives works  (ND)  ไม่แก้ไข  ดัดแปลงต้นฉบับ
  4. Non-Commercial  (NC)  ไม่ใช้เพื่อการค้า




                    ซึ่งเจ้าของสิทธิ์สามารถเข้าไปสร้างครีเอทีฟคอมมอนส์ได้ใน http://creativecommomns.org  พร้อมทั้งกำหนดสัญญากำกับในผลงานของตนไว้  เพื่อผลงานที่เป็นสาธารณะสมบัติต่อไป




Self-Archiving

  1. Preprint  ฉบับสำเนา (ฉบับก่อนพิมพ์)    เป็นฉบับแรกที่ผู้เขียนๆขึ้นมาโดยยังไม่ผ่านการตรวจสอบ  ประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ  ส่วนใหญ่เขียนเพื่อวัตถุประสงค์ส่งตีพิมพ์ในวารสาร  หรือส่งเวียนให้แก่กันเพืิ่อติติงก่อนส่งให้สำนักพิมพ์พิจารณาต่อไป
  2. Postprint  ฉบับที่จัดพิมพ์ คือฉบับสมบูรณ์ที่จะใช้ในการตีพิมพ์  อาจเป็นฉบับที่สำนักพิมพ์จะนำตีพิมพ์  หรือปรับปรุงจากฉบับ preprint  ที่ผู้เขียนทำการปรับปรุงระหว่างการได้รับการประเมินคุณภาพและอยู่ในระหว่างการดำเนินการของการรับตีพิมพ์  หากได้รับการเผยแพร่แล้วจะเรียกว่า "e-print" คือฉบับ preprint และ postprint ที่ได้รับการตรวจสอบและเสร็จสมบูรณ์แล้ว  ซึ่งจะเผยแพร่เฉพาะแต่ใน OA  ส่วนในวารสารจะมีแต่ postprint เท่านั้น
  3. Grey  Literature  เอกสารหายาก  เป็นเอกสารที่เผยแพร่ในวงจำกัดหรือเผยแพร่เฉพาะกลุ่ม  เป็นเอกสารที่ไม่ได้มีการตีพิมพ์โดยทั่วไป  เช่น  รายงานการประชุม  รายงานของหน่วยงาน  รายงานทางวิชาการ    เอกสารทางธุรกิจ  หรือเอกสารอื่นๆที่มีการควบคุมคุณภาพโดยมีการพิจารณาก่อนการตีพิมพ์  ซึ่งมักไม่มีการตีพิมพ์แพร่หลายนัก
  4. Errata / Corrigenda  การปรับปรุงแก้ไขจากฉบับเดิม



ลิขสิทธิ์ (สรุป 20/06/54)



ลิขสิทธิ์



                 ความเป็นเจ้าของสิทธิในผลงานที่ได้สร้างสรรค์ขึ้น ซึ่งเจ้าของผลงานได้อาศัยความรู้ ความสามารถและสติปัญญาในการสร้างสรรค์ผลงานแต่ละชิ้นขึ้นมา  ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีกฏหมายคุ้มครองและรับรองความมีสิทธิในผลงานของผู้ที่เป็นเจ้าของผลงาน  เพื่อป้องกันการทำซ้ำ ดัดแปลง  หรือนำไปเผยแพร่ต่อสาธารณะโดยไม่ได้รับการอนุญาต ตามพระราชบัญญํติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 27 และ 39 เพราะหากไม่มีกฏหมายคุ้มครองสิทธิ์  ก็จะไม่มีแรงจูงใจในการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ

"Intended  for public  good  to  encourage  creativity"



                ระยะเวลาที่ให้ความคุ้มครองสิทธิ์
  • เดิมจากให้ความคุ้มครองสิทธิ์ 50 ปี แต่ปัจจุบันให้ความคุ้มครองต่ำสุด 70 ปี
  • ประเทศสหรัฐอเมริกาให้ระยะเวลาในการคุ้มครองสูงสุดนาน 120 ปี


               ลิขสิทธิ์โดยธรรม  (Fair Use)
  • อนุญาตให้ทำสำเนางานที่มีลิขสิทธิ์ที่มีจำนวนจำกัด  เพื่อวัตถุประสงค์ในการศึกษาและวิจัย
  • อนุญาตให้ทำสำเนาเพื่อวัตถุประสงค์ที่ใช้ในการวิจารณ์  รายงานข่าว  การเรียนการสอน  งานวิชาการหรืองานวิจัย  โดยไม่ต้องอนุญาตและไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์


                หลักการใช้งานลิขสิทธิ์โดยชอบธรรม
  • ใช้ในงานวิจัยหรือการศีกษา
  • ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเองและครอบครัว
  • ติชม  วิจารณ์  หรือแนะนำผลงาน  โดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
  • เสนอรายงานข่าว  โดยมีการรับรู้ถึงคาวมเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
  • ทำซ้ำ  ดัดแปลง  นำออกแสดง  ทำให้ปรากฏเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่
  • ทำซ้ำ  ดัดแปลง  นำออกแสดง  ทำให้ปรากฏโดยผู้สอนเพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอน
  • นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ


                ลิขสิทธิ์โดยธรรมของห้องสมุด
  • การทำซ้ำเพื่อใช้ในห้องสมุดหรือให้แก่ห้องสมุดอื่น
  • การทำซ้ำงานในบางตอนเพื่อให้แก่ผู้อื่นเพื่อประโยชน์ในการศึกษาและการวิจัย


                ปริมาณที่ถือว่าเหมาะสมในการนำผลงานมาใช้
  • หนังสือ นำมาใช้ได้เพียง 1 บทเท่านั้น
  • วารสารหรือหนังสือพิมพ์นำมาได้ 1 บทความ
  • เรื่องสั้น บทกลอน นำมาได้ 1 เรื่อง
  • กราฟ รูปภาพ แผนภูมิ  นำมาได้เพียง 1 ภาพ
  • พวกสื่อมีเดีย นำมาใช้ไม่เกิน 10% หรือ 3 นาที
  • ข้อความ  น้ำมาใช้ได้แค่ 10% หรือไม่เกิน 1,000 คำ
  • เพลง นำมาใช้ได้เพียง 10% หรือไม่เกิน 30 วินาที
  • รูปภาพหรือภาพถ่ายใช้ได้ไม่เกิน 5 ภาพต่อผู้สร้างสรรค์ 1 คน
  • ฐานข้อมูล  ไม่เกิน 10% หรือ 2,500  รายการข้อมูล


วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Open Access - OA (สรุป 16/06/54)

                   

                  OA หรือ Open Access หมายถึง เอกสารเปิด หรือการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างเสรี  กล่าวคือ เป็นการเปิดให้สาธารณะชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างเสรีโดยไม่จำกัดสิทธิ์ของผู้ใช้  นอกจากนั้นยังอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถทำการเชื่อมโยง คัดลอกทำสำเนา  ดัดแปลง แจกจ่ายและนำไปใช้เพื่อการค้าได้โดยไม่ต้องขออนุญาต  เดิมมีแต่บทความทางด้านวิชาการในรูปแบบของดิจิทัล ที่ให้บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเท่านั้น  ปัจจุบันคลอบคลุมถึงวิทยานิพนธ์ เอกสารสัมมนา  เอกสารการสอน สื่อโสตทัศนวัสดุ เช่น วิดีโอ เพลง รูปภาพ เป็นต้น

                    
             พัฒนาการที่ทำให้เกิด OA
  • สื่อมัลติมีเดียที่นำเสนอในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Publishing
  • อินเทอร์เน็ต  ไม่มีค่าใช้จ่ายและง่ายต่อการเผยแพร่
  • ราคาของวารสารสิ่งพิมพ์ที่สูงขึ้น  

วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Information Repositories-IR (สรุป 13/06/54)

                 
                 IR หรือ Information Repositories  หมายถึงคลังจัดเก็บเอกสาร เป็นการรวบรวมนำข้อมูลที่เป็นสิ่งพิมพ์มาทำเป็นรูปแบบของดิจิทัล ในรูปแบบของ e-publishing  ซึ่งเป็นการจัดเก็บความรู้ภายในองค์กร หน่วยงานต่างๆ หรืออาจเป็นการร่วมมือจากหลายๆหน่วยงานในการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลในแต่ละประเภทให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล


                 ประโยชน์ของการทำ IR
  • เป็นการรวบรวมข้อมูลจากรูปแบบเดิมที่เป็นสิ่งพิมพ์ให้อยู่ในรูปแบบของดิจิทัล
  • เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น
  • เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วมากกว่าการค้นหาข้อมูลแบบเดิมที่ต้องหาจากสิ่งพิมพ์ในแต่ละเล่ม แต่ละประเภท ซึ่งใช้เวลาในการค้นหานาน ทำให้เสียเวลา
  • ในกรณีที่หนังสือหรือสิ่งพิมพ์บางประเภทมีอายุการใช้งานมานานและอาจจะเสื่อมสภาพไปบ้าง  การทำ IR จึงเป็นวิธีหนึ่งที่ยังสามารถเก็บข้อมูลของสิ่งพิมพ์นั้นไว้ได้อยู่ โดยนำมาผ่านกระบวนการทางดิจิทัล เช่น การสแกน เป็นต้น
  • IR เป็นการเก็บรวบรวมและสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ในระยะยาว
  • เป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการการจัดเก็บข้อมูล เพื่อรักษาและสงวนข้อมูลต่างๆไว้
  • การจัดทำ IR เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เขียนเผยแพร่ข้อมูลของตนต่อสาธารณะชนได้อย่างสะดวกและเป็นที่แพร่หลายมากยิ่งขึ้น