วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ภารกิจในการจัดทำเอกสาร OA (สรุป 04/07/54)

           
                  ปัจจุบันการจัดทำเอกสาร OA ได้รับความนิยมมาห อันเนื่องมาจากการจัดทำเอกสาร OA เป็นการเปิดโอกาสให้นักวิชาการ อาจารย์ หรือผู้ที่ทำการวิจัยได้นำผลงานของตนออกมาเผยแพร่ต่อสาธารณะชน  ซึ่งภารกิจในการจัดทำเอกสาร OA นั้นหมายถึง ภารกิจที่ทางองค์กรหรือสถาบันต่างๆ เป็นผู้ที่สนับสนุนให้เกิดการจัดทำเอกสาร OA  เพื่อต้องการให้นักวิชาการหรือผู้ที่ทำการวิจัย ได้นำผลงานที่เป็นบทความทางวิชาการหรืองานวิจัยมาเผยแพร่  
                 วัตถุประสงค์ในการจัดทำเอกสาร OA คือเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงบทความทางวิชาการได้ในรูปแบบของดิจิทัล  โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย  ซึ่งภารกิจในการจัดทำเอกสาร OA นี้เกิดจากการลงมติของสถาบันการวิจัย และฝ่ายงานวิชาการของทางมหาวิทยาลัยที่เห็นความสำคัญและประโยชน์ของการจัดทำเอกสาร OA  นอกจากนั้นยังเป็นการช่วยให้วงการการศึกษามีการพัฒนามากขึ้น เนื่องจากเป็นการกระจายความรู้และผู้ใช้ทั่วไปสามารถเข้าถึงบทความหรือความรู้ต่างๆได้ง่ายมากยิ่งขึ้น  ดังจะเห็นได้จากการที่องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนเสนอให้ทุุนแก่นักวิชาการและนักวิจัย เพื่อต้องการให้มีการเผยแพร่บทความที่มีสาระความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม  ซึ่งมหาวิทยาลัยที่มีการจัดทำเอกสาร OA และออกภารกิจการจัดทำเอกสาร OA  แห่งแรก คือ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ตามมาด้วย มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด  มหาวิทยาลัยเซาว์แทมตัน  เป็นต้น
               

วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

E-Book-ต่อ และ E-Journal (สรุป 14/07/54)

                   
                      การเข้าถึง
  • Offline  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ นิยมใช้เป็น offline ถ่ายโอนมาที่เครื่องอ่าน
  • Online  อ่านผ่านเครือข่าย โดยใช้โปรแกรมในการอ่าน เช่น Adobe Reader , Microsoft Reader

                    Implementation of  E-Book
  1. Downloadable e-Books  สามารถดาวน์โหลดได้เลย โดยมีให้บริการเป็นสาธารณะ  ไม่ใช่เพื่อการค้า  และมีโปรแกรมเฉพาะในการอ่าน                                                                                                            
  2. Dedicated e-Book readers บอกรับเป็นสมาชิกก่อน เช่น  Amazon Kindle ซึ่งเปิดอ่านได้เฉพาะหนังสือที่มีขายใน amazon เท่านั้น  
  3. Web accessible e-Books  บอกรับในเชิงพาณิชย์ ซื้อเป็นฐานข้อมูล มีบางฐานข้อมูลที่อนุญาตให้นำหนังสือที่มีในฐานข้อมูลที่ห้องสมุดบอกรับเป็นสมาชิกโอนลงมาใน OPAC ได้โดยอัตโนมัติ  
                   E-Book  ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการข้อมูลใหม่ที่ทันสมัย และรวดเร็ว  กล่าวคือหากรอเป็นหนังสือก็ใช้เวลาในการจัดพิมพ์นาน  ทางสำนักพิมพ์จึงต้องทำออกมาในรูปแบบของ E-Book เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้  และเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการส่งเสริมการขาย

             

 E-Journal



                     การจัดทำวารสาร
  1. จัดทำในรูปแบบสิ่งพิมพ์
  2. จัดทำเป็นวัสดุย่อส่วน ในรูปแบบของไมโครฟิช ซึ่งประเทศไม่นิยมจัดเก็บในไมโครฟิช แต่จะจัดเก็บในไมโครฟิล์ม  ซึ่งข้อดีของไมโครฟิชคือสามารถจัดเก็บได้นาน 200 ปี  เป็นการจัดเก็บเพื่อรักษาต้นฉบับไว้ ไม่ได้เพื่อเป็นการเผยแพร่โดยทั่วไป  และราคาในการจัดทำไม่แพง
  3. จัดทำในรูปแบบฐานข้อมูลซีดีรอม
  4. จัดเก็บวารสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์  ซึ่งปัญหาของการจัดเก็บในรูปแบบนี้คือ ข้อมูลอาจจะไม่เข้าถึงได้ตลอด กล่าวคือ วันนี้สามารถเข้าดูได้ แต่อีก 10 ปีข้างหน้าอาจจะเข้าดูไม่ได้
               
                    ชื่อเรียก
  • E-Journal หรือ e-Journal
  • Online  Journal
  • Internet  Journal
  • Cyber Journal

                     รูปแบบไฟล์
  • PDF  อ่านและดาวน์โหลดได้ง่าย มีพื้นที่ในการจัดเก็บน้อย  มีไฟล์ขนาดเล็ก
  • ABS  สามารถอ่านได้ทุกไฟล์  กำลังเป็นที่นิยม
  • Scan  เป็นนามสกุลพวก .gif  .jpeg  .pdf
  • HTML

                     รูปแบบในการจัดทำ
  1. ทำซ้ำฉบับพิมพ์
  2. ทำเป็นดิจิทัล หรือ Born digital  คือทำเป็นดิจิทัลโดยเฉพาะ ไม่เคยทำเป็นสิ่งพิมพ์มาก่อน โดยเฉพาะวารสารกล่ม OA เป็น Born Digital ทั้งหมด  

                    การจัดทำวารสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
  • นำวารสารเก่าๆมาสแกนและจัดเก็บไฟล์ไว้
  • วารสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตจากกระบวนการพิมพ์  มีวัตถุประสงค์ที่จะทำเป็นทั้งฉบับพิมพ์และอิเล็กทรอนิกส์  รูปแบบอาจจจะไม่เหมือนกัน แต่มีเนื้อหาบทความเหมือนกัน
  • วารสารในรูปแบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์  ส่วนใหญ่ให้บริการบนอินเทอร์เน็ต
                     

                   

E-Book-ต่อ (สรุป 11/07/54)


                   ข้อด้อยของ E-Book
  • ต้องมีเครื่องอ่าน
  • ต้องใช้พลังงาน
  • เปราะบาง เสียหายง่าย
  • ไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ถูก Hack และ Crack ง่าย

                  Book Scanner  คือเครื่องสแกนหนังสือขนาดใหญ่ เพื่อสแกนข้อความตัวอักษรในหนังสือนำมาทำเป็นอิเล็กทรอนิกส์หรือ E-Book  โดยใช้โปรแกรม OCR (Optical Character Recognition)  มาทำการแปลงภาพที่ได้ให้อยู่ในรูปแบบของ MS Word จากนั้นสามารถมาแต่งหรือเพิ่มเติมได้


                  การจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (Publishing model)
  1. จัดทำส่วนบุคคล (Self-Publishing)
  2. จัดทำเพื่อการค้า (Commercial)
  3. จัดทำเพื่อการศึกษา (Educational)

                  ซอฟต์แวร์สำหรับการจัดทำ
  • ExeBook Self-Publisher
  • e-ditor
  • Mobipacket Publisher 3.0
  • Desktop Author
  • eBookGold
  • E-Book crator
  • Flip Alablum

                  ซอฟต์แวร์สำหรับการอ่าน
  • Browser
  • Adobe  Acrobat  eBook  Reader
  • Microsoft  Reader
  • Palm  Reader

                   ข้อดีของ E-Book สำหรับห้องสมุด
  • ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้จำนวนมากขึ้นในครั้งเดียวกัน
  • ราคาถูกกว่าสิ่งพิมพ์
  • ประหยัดงบประมาณในด้านการจัดซื้อ และสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ในปริมาณที่มากขึ้น
  • สนองความต้องการของผู้ใช้ที่มีความต้องการได้ข้อมูลทันที
  • สามารถจัดเก็บได้สะดวกขึ้น  โดยการทำสำเนา 
  • ทางห้องสมุดสามารถจัดทำเป็นสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์และให้บริการออนไลน์ได้
  • เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ห้องสมุดนำมาใช้ในการให้บริการ เช่น Blog  wiki , RSS ,OSS
  • การบอกรับของห้องสมุดเป็นในลักษณะการได้รับอนุญาตให้ใช้ (license) 
  • ลดงานภายในห้องสมุด เช่น งานบริการยืม-คืน  การลงรายการ  การขึ้นชั้นหนังสือ เป็นต้น

                   ข้อเสียของ E-Book สำหรับห้องสมุด
  • มีขั้นตอนในการจัดการทรัพยากรในรูปแบบใหม่ จึงมีความจำเป็นที่บุคลากรจะต้องได้รับการอบรมฝึกฝนใหม่ หรือต้องการบุคลากรใหม่ที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องของการจัดการ การให้บริการ
  • อาจต้องเพิ่มงบประมาณในการจัดซื้ออุปกรณ์
  • การดูแลรักษาอุปกรณ์ที่มีให้บริการร่วม
  • ผู้ใช้ต้องได้รับการฝึกอบรม


E-Book (สรุป 07/07/54)



                    E-Book คือ  หนังสือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งอ่านผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องอ่าน E-Book โดยเฉพาะ หรือ E-Book Reader  
                   ปัจจุบันนิยมใช้ E-Book มากขึ้น  เนื่องจากประหยัดทรัพยากรกระดาษ เข้าถึงได้ง่าย และมีความน่าสนใจกว่าหนังสือในรูปแบบเดิม สามารถแสดงผลด้วยภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว หรือเพิ่ม link เข้าไปได้  ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเนื้อหาอื่นๆได้ และสามารถเข้าถึงเนื้อหาได้ในทุกที่ทุกเวลาที่ต้องการ


                    E-Book  Reader  คือโปรแกรมที่อ่าน E-Book เช่น ePub , Kindle , eReader , iPhone , Palm เป็นต้น

                   ePub   เป็นโปรแกรมมาตรฐานที่สามารถเปิดอ่านได้ในทุกนามสกุล  และสามารถแปลงไฟล์ได้หลากหลายไฟล์  ซึ่งมีหลายโปรแกรมที่อ่าน ePub ได้ เช่น  adobe , Sony Reader , Kindle เป็นต้น  


                    คุณสมบัติของ E-book Reader
  • สามารถค้นภายในเนื้อหาได้
  • บันทึกข้อความ หรือใส่ความคิดเห็นของเราได้
  • คัดลอกและวาง
  • มีพจนานุกรมในตัว บอกคำแปลหรือโยงไปหาดิชชันนารีอื่นๆ
  • สามารถเน้นข้อความหรือเพิ่มเติมข้อความลงไปได้
  • ปรับขยายตำแหน่งหรือตัวอักษรในการอ่านได้
  • สามารถอ่านออกเสียงได้
  • มีการเชื่อมโยง (Hyperlink)  
  • มีระบบเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
  • เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

           
                   ข้อดีของ E-Book
  • มีภาพเคลื่อนไหว เสียง และสามารถอ่านออกเสียงได้
  • ไม่แพง
  • ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ เนื่องจากเผยแพร่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
  • ไม่เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บ
  • ดีต่อสิ่งแวดล้อม

                 ข้อเสียของ E-Book
  • มีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ในการคัดลอกข้อความหรือบทความ
  • อาจมีปัญหาเกี่ยวกับตา เนื่องมาจากการอ่าน E-Book ผ่านหน้าจอ อาจมีอาการตาแห้งหรือตาเสื่อมเร็วได้
  • ขึ้นอยู่กับซอฟต์แวร์ที่ใช้อ่าน E-Book 
   

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Open Access Journals-Gold OA (สรุป 30/06/54)

       

          ลักษณะของ Gold OA
  1. เป็นวารสารบทความทางวิชาการ
  2. มีคุณภาพและลักษณะเหมือนวารสารทั่วไป เช่น editorial oversight , copy and editing เป็นต้น
  3. บทความเป็นแบบดิจิทัล  ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนข้อมูลได้  มีอายุการใช้งานที่ยั่งยืน
  4. เปิดให้เข้าถึงได้อย่างเสรี
  5. ผู้แต่งยังคงมีลิขสิทธิ์ในบทความอยู่
  6. ผู้แต่งทำสัญญาอนุญาต (Creative Common) หรือ licenses อื่นๆได้


          Open Access  Journal  Publishers-type
  1. Born OA Publishers  เป็นวารสารที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่มาก่อน  ส่วนใหญ่จะใช้ Creative Common
  2. Conventional  Publishers  วารสารเชิงพาณิชย์ ใช้ Creative Common
  3. Non-Traditional  Publishers  วารสารที่ไม่หวังผลกำไร  ไม่ใช่เพื่อการค้า  นักวิชาการเป็นผู้จัดทำ



วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Implementing Open Access (สรุป 27/06/54)


  • Green OA : เป็นบทความหรือเอกสารที่ผู้แต่งเก็บไว้ และนำไปเผยแแพร่ลงเว็บไซต์ของตนเอง หรือทำเป็น IR เพื่อเผยแพร่ลงในอินเทอร์เน็ต
  • Gold OA :  เป็นบทความหรือวารสารที่เผยแพร่ลงเว็บไซต์สาธารณะทั่วไป ซึ่งผู้ใช้คนอื่นๆสามารถเข้าถึงได้

                   รูปแบบการนำเสนอ Self-Archiving
  1. Author's  Personal  Websites  เว็ปไซต์ส่วนตัวของผู้แต่ง  ผู้แต่งส่วนใหญ่จะนำผลงานของตนเผยแพร่ลงบนเว็ปไซต์ของตนเอง  ซึ่งสามารถเผยแพร่ลงเว็ปไซต์ได้ในรูปแบบของ E-print ที่เป็น  HTML , PDF , Word ก็ได้  ซึ่งข้อดีของการเผยแพร่ผลงานลงบนเว็ปไซต์นั้นจะทำให้ search engines สามารถค้นหาได้ง่ายและสะดวกรวดเร็วต่อผู้ใช้
  2. Disciplinary  Archives  คลังจัดเก็บเอกสารเฉพาะสาขาวิชา  อาจเป็นการร่วมมือกันในระดับมหาวิทยาลัยหรือสถาบันต่างๆ  เพื่อเป็นการรวบรวมข้อมูลและเผยแพร่แบบ open access เช่น E-print หรือสิ่งพิมพ์ดิจิทัล
  3. Institutional-Unit  Archives  คลังจัดเก็บเอกสารของหน่วยงานย่อยของสถาบัน  เป็นการจัดเก็บเอกสารของหน่วยงานย่อยที่อยู่ภายใต้สถาบันนั้นๆ  ซึ่งอาจจะทำคล้ายๆกับเว็ปไซต์ส่วนบุคคลและเผยแพร่แบบ open access 
  4. Institutional  Repositories คลังจัดเก็บเอกสารระดับสถาบัน  ซึ่งเป็นการจัดเก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ , E-prints เป็นต้น โดยสถาับันจัดทำขึ้นหรืออาจเป็นความร่วมมือกันจากหลายๆสถาบันก็ได้  ซึ่งทางห้องสมุดมีหน้าที่ในการสนับสนุนและผลักดันให้มีการจัดทำและเผยแพร่ผลงานของทางมหาวิทยาลัยหรือของทางสถาบันให้เป็น IR