วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

E-Book-ต่อ และ E-Journal (สรุป 14/07/54)

                   
                      การเข้าถึง
  • Offline  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ นิยมใช้เป็น offline ถ่ายโอนมาที่เครื่องอ่าน
  • Online  อ่านผ่านเครือข่าย โดยใช้โปรแกรมในการอ่าน เช่น Adobe Reader , Microsoft Reader

                    Implementation of  E-Book
  1. Downloadable e-Books  สามารถดาวน์โหลดได้เลย โดยมีให้บริการเป็นสาธารณะ  ไม่ใช่เพื่อการค้า  และมีโปรแกรมเฉพาะในการอ่าน                                                                                                            
  2. Dedicated e-Book readers บอกรับเป็นสมาชิกก่อน เช่น  Amazon Kindle ซึ่งเปิดอ่านได้เฉพาะหนังสือที่มีขายใน amazon เท่านั้น  
  3. Web accessible e-Books  บอกรับในเชิงพาณิชย์ ซื้อเป็นฐานข้อมูล มีบางฐานข้อมูลที่อนุญาตให้นำหนังสือที่มีในฐานข้อมูลที่ห้องสมุดบอกรับเป็นสมาชิกโอนลงมาใน OPAC ได้โดยอัตโนมัติ  
                   E-Book  ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการข้อมูลใหม่ที่ทันสมัย และรวดเร็ว  กล่าวคือหากรอเป็นหนังสือก็ใช้เวลาในการจัดพิมพ์นาน  ทางสำนักพิมพ์จึงต้องทำออกมาในรูปแบบของ E-Book เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้  และเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการส่งเสริมการขาย

             

 E-Journal



                     การจัดทำวารสาร
  1. จัดทำในรูปแบบสิ่งพิมพ์
  2. จัดทำเป็นวัสดุย่อส่วน ในรูปแบบของไมโครฟิช ซึ่งประเทศไม่นิยมจัดเก็บในไมโครฟิช แต่จะจัดเก็บในไมโครฟิล์ม  ซึ่งข้อดีของไมโครฟิชคือสามารถจัดเก็บได้นาน 200 ปี  เป็นการจัดเก็บเพื่อรักษาต้นฉบับไว้ ไม่ได้เพื่อเป็นการเผยแพร่โดยทั่วไป  และราคาในการจัดทำไม่แพง
  3. จัดทำในรูปแบบฐานข้อมูลซีดีรอม
  4. จัดเก็บวารสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์  ซึ่งปัญหาของการจัดเก็บในรูปแบบนี้คือ ข้อมูลอาจจะไม่เข้าถึงได้ตลอด กล่าวคือ วันนี้สามารถเข้าดูได้ แต่อีก 10 ปีข้างหน้าอาจจะเข้าดูไม่ได้
               
                    ชื่อเรียก
  • E-Journal หรือ e-Journal
  • Online  Journal
  • Internet  Journal
  • Cyber Journal

                     รูปแบบไฟล์
  • PDF  อ่านและดาวน์โหลดได้ง่าย มีพื้นที่ในการจัดเก็บน้อย  มีไฟล์ขนาดเล็ก
  • ABS  สามารถอ่านได้ทุกไฟล์  กำลังเป็นที่นิยม
  • Scan  เป็นนามสกุลพวก .gif  .jpeg  .pdf
  • HTML

                     รูปแบบในการจัดทำ
  1. ทำซ้ำฉบับพิมพ์
  2. ทำเป็นดิจิทัล หรือ Born digital  คือทำเป็นดิจิทัลโดยเฉพาะ ไม่เคยทำเป็นสิ่งพิมพ์มาก่อน โดยเฉพาะวารสารกล่ม OA เป็น Born Digital ทั้งหมด  

                    การจัดทำวารสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
  • นำวารสารเก่าๆมาสแกนและจัดเก็บไฟล์ไว้
  • วารสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตจากกระบวนการพิมพ์  มีวัตถุประสงค์ที่จะทำเป็นทั้งฉบับพิมพ์และอิเล็กทรอนิกส์  รูปแบบอาจจจะไม่เหมือนกัน แต่มีเนื้อหาบทความเหมือนกัน
  • วารสารในรูปแบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์  ส่วนใหญ่ให้บริการบนอินเทอร์เน็ต
                     

                   

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น